กำลังโหลดข้อมูล กรุณารอสักครู่ ...
โรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อย สพป.ขอนแก่น เขต 1     กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา ที่ 5  หน้าแรก


รร.บ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา

 

โปร่งใส คุณภาพ คุณธรรม สร้างการมีส่วนร่วมและประสานการทำงานร่วมกันอย่างยั่งยืน ทุกภาคส่วน

More...
รร.บ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา

งดรับของขวัญ(No Gift Policy)

 

โรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา แสดงเจตนารมณ์ในการงดรับของขวัญ(No Gift Policy)เพื่อเป็นการแสดงความซื่อสัตย์สุจริตในการบริหารงานที่ปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อน

More...
งดรับของขวัญ(No Gift Policy)
ข้อมูลพื้นฐาน
Language:
Access มุมสมาชิก
 
   Access to management
User
Password
 
ข้อมูลสารสนเทศ(Information)
   ข้อมูลนักเรียน
   ข้อมูลเขตบริการ
   ข้อมูลครูและบุคลากร
   E-Service
   ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริต
   ช่องทางรับฟังความคิดเห็น
   แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการ
   ข้อมูลสิ่งก่อสร้าง
 
เอกสารและคู่มือ(Documentation)
    ข้อมูล O-NET
    ข้อมูล NT
    ข้อมูล RT
    แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
    แผนปฏิบัติการ ปี 2566
    รายงานผลการดำเนินงาน ปี 2565
    คู่มือการปฏิบัติงาน
    คู่มือขั้นตอนการให้บริการ
    ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
    ประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
    แนวทางประพฤติปฏิบัติตนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
    ข้อกำหนดจริยธรรมของ สพฐ.
    สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุรายเดือน
    หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
ข้อมูลเกี่ยวกับ ITA ONLINE
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ 2566

Integrity and Transparency Assessment2566
 
แบบวัด EIT โรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา
แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการให้บริการ

E-SERVICE

  

  

 
Social Network

 

 
 

 

 
 
Statistic & Counter

ขณะนี้ออนไลน์: 1 คน

สถิติวันนี้:      59 คน

สถิติเดือนนี้:   1163 คน

สถิติปีนี้:        4955 คน

สถิติทั้งหมด: 37081 คน

 

เผยแพร่ผลงานวิจัย เรื่องรายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสัตภาคีเครือข่ายโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา 2563-2564


เมื่อ [2022-09-20 19:21:37]

ชื่อเรื่อง      :  รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม  จริยธรรม  น้อมนำหลักปรัชญา

                        ของเศรษฐกิจพอเพียง  โดยสัตภาคีเครือข่ายโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา

                        ปีการศึกษา  2563-2564

ชื่อผู้วิจัย       :  นายนราวุธ  รามศิริ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา

ปีที่วิจัย         :  ปีการศึกษา  2563-2564

 

บทคัดย่อ

 

รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสัตภาคีเครือข่ายโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา   2563-2564 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทโครงการส่งเสริมคุณธรรม  จริยธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสัตภาคีเครือข่ายโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา 2563-2564 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าโครงการส่งเสริมคุณธรรม  จริยธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสัตภาคีเครือข่ายโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา 2563-2564 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการโครงการส่งเสริมคุณธรรม  จริยธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสัตภาคีเครือข่ายโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา 2563-2564 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตโครงการส่งเสริมคุณธรรม  จริยธรรม  น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  โดยสัตภาคีเครือข่ายโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา 2563-2564 ดังนี้ (4.1) ผลการประเมินการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสัตภาคีเครือข่ายโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา 2563-2564 (4.2) ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน (4.3) ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม น้อมนำหลักปรัชญา              ของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสัตภาคีเครือข่ายโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา   2563-2564 (4.4) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ การดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสัตภาคีเครือข่ายโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา 2563-2564 โดยประยุกต์รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP  Model) มาใช้ในการประเมิน

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้
ประชากรครู ปีการศึกษา 2563 จำนวน 15 คน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 14 คน กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 121 คน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 133 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2563 จำนวน 121 คน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 133 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 และปีการศึกษา 2564 จำนวน 7 คน กลุ่มตัวอย่างองค์การบริหารส่วนตำบลดอนหัน ปีการศึกษา 2563 และปีการศึกษา 2564 จำนวน 15 คนกลุ่มตัวอย่างสถานีตำรวจภูธรท่าพระ ปีการศึกษา 2563 และปีการศึกษา 2564 จำนวน 15 คน และกลุ่มตัวอย่าง บริษัท ขอนแก่นบริวเวอรี่ จำกัด ปีการศึกษา 256  และปีการศึกษา 2564 จำนวน 15 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ประเมินได้สร้างแบบสอบถามสำหรับประเมินโครงการที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ ทุกฉบับผ่าน
การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.779-0.963 แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ จำนวน 1 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.998 แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 1 ฉบับ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง  0.32-0.71  และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.36-0.68 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม น้อมนำหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสัตภาคีเครือข่ายโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา
2563-2564 จำนวน 1 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.986 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยใช้โปรแกรม SPSS (Statistical Package for Social Sciences for windows version 27) ผลการประเมินพบว่า

  1. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทของการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสัตภาคีเครือข่ายโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา 2563-2564 ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์การบริหารส่วนตำบลดอนหัน สถานีตำรวจภูธรท่าพระ และบริษัทขอนแก่นบริวเวอรี่ จำกัด พบว่า

     ปีการศึกษา 2563 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( , = 3.77, S.D. , s = 0.48)  และ  เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายข้อ  พบว่า  อยู่ในระดับมากทุกข้อ  โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  คือ  เป้าหมายของโครงการมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรม ( , = 3.89, S.D.,s = 0.42) รองลงมาคือ  โครงการมีความสอดคล้องตามความต้องการของนักเรียน  ครู  ผู้ปกครองคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายชุมชน  ( , = 3.85, S.D. , s = 0.46)  ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับสภาพและความเป็นจริงในการดำเนินงาน ( , = 3.63, S.D.,s = 0. 53)

     ปีการศึกษา  2564  โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( , = 4.78, S.D.,s = 0.41) และเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการกำหนด วัตถุประสงค์ เป้าหมายและวิธีดำเนินการ ( , =
4.84 , S.D. , s = 0.37)  รองลงมา  คือ  โครงการกำหนดวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ และโครงการส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ( , =
4.82,S.D. , s = 0.37, 0.38)  ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด  คือ  โรงเรียนมีการให้ความรู้ความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  ( , = 4.71, S.D. , s = 0.47)

  1. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  โดยสัตภาคีเครือข่ายโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา  ปีการศึกษา  2563-2564  ตามความคิดเห็นของครู  ผู้ปกครอง  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  องค์การบริหารส่วนตำบลดอนหัน  สถานีตำรวจภูธรท่าพระ  และบริษัทขอนแก่นบริวเวอรี่  จำกัด  พบว่า

     ปีการศึกษา 2563 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( , = 3.80, S.D. ,s = 0.47)  และ เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารและครูให้ความสำคัญและมีความพร้อมในการดำเนินโครงการ ( , = 3.87,S.D.,s= 0.41) รองลงมาคือ บุคลากรที่รับผิดชอบในการดำเนินโครงการมีจำนวนเพียงพอ และการบริหาร
งบประมาณโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ ( , = 3.85, S.D. , s = 0.49, 0.50)  ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชนพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ( , = 3.73, S.D,s= 0.44)

     ปีการศึกษา 2564 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( , = 4.81, S.D.,s = 0.38)  และเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือบุคลากรผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ความสามารถพร้อมที่จะดำเนินการตามโครงการ  และกิจกรรมของโครงการมีความเหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน ( , = 4.85, S.D. , s= 0.34,0.36)รองลงมา คือ ผู้บริหารหรือหน่วยงานต้นสังกัดให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการ รูปแบบของการจัดกิจกรรมตามโครงการเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้  และผู้บริหารและครูให้
ความสำคัญและมีความพร้อมในการดำเนินโครงการ ( , = 4.84, S.D. , s = 0.35, 36)  ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ อาคารสถานที่ของโรงเรียนมีความเหมาะสมต่อการดำเนินโครงการ ( , = 4.76, S.D. , s = 0.41)

  1. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการดำเนินงานของการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม  น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  โดยสัตภาคีเครือข่ายโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา 2563-2564  ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูผู้ปกครอง  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  องค์การบริหารส่วนตำบลดอนหัน  สถานีตำรวจภูธรท่าพระ และบริษัท ขอนแก่นบริวเวอรี่ จำกัด พบว่า

     ปีการศึกษา 2563  โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( , = 3.80, S.D. , s = 0.47)  และเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายข้อ  พบว่า  อยู่ในระดับมากทุกข้อ  โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  คือ  โรงเรียนวางแผนการดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบ ( , = 3.88, S.D. , s = 0.45)  รองลงมา คือ
การแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบโครงการที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และเข้าใจโครงการอย่างชัดเจน ( , = 3.87, S.D. , s = 0.48)  ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด  คือ  โครงการได้ดำเนินการเป็นไปตามแผนปฏิบัติการที่วางไว้  ( , = 3.72, S.D. , s = 0.53)

     ปีการศึกษา 2564 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( , = 4.81, S.D. , s =  0.38)
และเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือโรงเรียนวางแผนการดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบ ( , = 4.85, S.D. , s = 0.35) รองลงมาคือโครงการได้ดำเนินการเป็นไปตามแผนปฏิบัติการที่วางไว้ ( , = 4.84, S.D. , s = 0.38) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การจัดทำแผนการประเมินผลและเครื่องมือวัดและประเมินผลโครงการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ( , 4.76, S.D., s = 0.41)

  1. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตของการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสัตภาคีเครือข่ายโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา 2563-2564

     4.1 สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตการดำเนินงานของการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสัตภาคีเครือข่ายโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา 2563-2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูผู้ปกครอง  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  องค์การบริหารส่วนตำบลดอนหัน  สถานีตำรวจภูธรท่าพระ  และบริษัท  ขอนแก่นบริวเวอรี่  จำกัด  พบว่า

            ปีการศึกษา 2563 โดยรวมอยู่ในระดับมา  ( , = 3.81, S.D. , s = 0.50) และเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ
นักเรียนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ( , = 3.89, S.D. , s = 0.55)  รองลงมา  คือ  นักเรียนดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ( , = 3.87, S.D. , s = 0.54)  ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ นักเรียนเป็นผู้ประหยัด  มีความมัธยัสถ์  รู้จักอดออม และใช้จ่ายเฉพาะในสิ่งที่จำเป็นเพิ่มมากขึ้น( , = 3.77, S.D. , s = 0.46)

            ปีการศึกษา 2564 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( , =  4.82, S.D., s  =  0.37)และ เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือนักเรียนมีการจัดทำบัญชี รายรับ–รายจ่ายประจำวัน มีทักษะทางการเงินและจัดทำอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ( , = 4.86, S.D., s = 0.34) รองลงมา คือ นักเรียนรู้จักใช้ทรัพยากรและพลังงา  เช่นน้ำประปา ไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง อย่างประหยัด มีความคุ้มค่า เพื่อช่วยเหลือประเทศชาติในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ( , = 4.84, S.D. , s = 0.34)  ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ นักเรียนเป็นผู้ประหยัด มีความมัธยัสถ์ รู้จักอดออมและใช้จ่ายเฉพาะในสิ่งที่จำเป็นเพิ่มมากขึ้น และนักเรียนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน  ( , = 4.78, S.D., s = 0.39, 0.40)

     4.2 สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลการวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม  จริยธรรม  น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  โดยสัตภาคีเครือข่ายโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา 2563-2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน  พบว่า 

            ปีการศึกษา 2563 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.86, S.D. = 0.67)  และเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ซื่อสัตย์สุจริต( = 3.95, S.D. = 0.77)  รองลงมา คือ  มีจิตสาธารณะ  ( = 3.93, S.D. = 0.55)  ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ใฝ่เรียนรู้ ( = 3.78, S.D. = 0.72)

            ปีการศึกษา 2564 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.86, S.D. = 0.37)  และเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ซื่อสัตย์สุจริต ( = 4.93, S.D. = 0.28)  รองลงมา คือ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ( = 4.92, S.D. = 0.25) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ใฝ่เรียนรู้  ( = 4.80, S.D. = 0.43)

     4.3 สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลการทดสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการส่งเสริมคุณธรรม  จริยธรรม
น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  โดยสัตภาคีเครือข่ายโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา 2563-2564  พบว่า 

                        ปีการศึกษา 2563 ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการส่งเสริมคุณธรรม  จริยธรรม  น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสัตภาคีเครือข่ายโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา พบว่าก่อนเข้าร่วมโครงการนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 14.76 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
เท่ากับ 3.06 และหลังเข้าร่วมโครงการนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 26.17 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 1.67

                        ปีการศึกษา 2564 ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการส่งเสริมคุณธรรม  จริยธรรม  น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสัตภาคีเครือข่ายโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา
พบว่า  ก่อนเข้าร่วมโครงการนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 23.40 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) เท่ากับ 2.01 และหลังเข้าร่วมโครงการนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 28.18 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 1.57

            ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการส่งเสริมคุณธรรม  จริยธรรม  น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสัตภาคีเครือข่ายโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา
2563-2564 โดยการทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเข้าร่วมโครงการและการทดสอบก่อนเข้าร่วมโครงการ โดยใช้สถิติทดสอบที (t-test Dependent Samples)ผลการวิเคราะห์ข้อมูล  พบว่า

            ปีการศึกษา 2563 ผลคะแนนทดสอบก่อนเข้าร่วมโครงการ มีค่าเฉลี่ย ( ) 14.76คะแนน และคะแนนทดสอบหลังเข้าร่วมโครงการ มีค่าเฉลี่ย ( ) 26.17 คะแนน โดยเปรียบเทียบผลต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบหลังเข้าร่วมโครงการสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            ปีการศึกษา 2564 ผลคะแนนทดสอบก่อนเข้าร่วมโครงการ มีค่าเฉลี่ย ( ) 23.40คะแนน และคะแนนทดสอบหลังเข้าร่วมโครงการ มีค่าเฉลี่ย ( ) 28.18 คะแนน โดยเปรียบเทียบผลต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบหลังเข้าร่วมโครงการสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

     4.4 สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสัตภาคีเครือข่ายโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา 2563-2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า 

            ปีการศึกษา 2563 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.91, S.D. = 0.64) และเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุ คือ ด้านกิจกรรมตามโครงการ ( = 3.94, S.D. = 0.50)  รองลงมา คือ ด้านครูผู้สอน ( = 3.98, S.D. = 0.75) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านเอกสารโครงการ ( = 3.84, S.D. = 0.68)

            ปีการศึกษา 2564 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 3.91, S.D. = 0.64) และเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านภาพรวมของโครงการ (  = 4.95, S.D. = 0.26) รองลงมา คือ ด้านกิจกรรมตามโครงการ  ( =
 4.94, S.D. = 0.26)  ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านเอกสารโครงการ ( = 4.77, S.D. = 0.42)

 

ข้อเสนอแนะ

 

การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสัตภาคีเครือข่ายโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา 2563-2564
มีข้อเสนอแนะ  ดังนี้

  1. ข้อเสนอแนะการนำผลการประเมินไปปรับประยุกต์ใช้

     1.1 โรงเรียนควรชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและประชาสัมพันธ์
การดำเนินงานของโครงการอย่างต่อเนื่อง

     1.2 โรงเรียนควรชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและผลการประเมินโครงการ โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก-มากที่สุด และวัตถุประสงค์โครงการสอดคล้องกับนโยบายและสภาพปัญหาของโรงเรียนในปัจจุบัน จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถานศึกษาที่มีบริบทใกล้เคียงกันได้

     1.3 การประเมินด้านบริบท ควรทบทวนปรับปรุงกิจกรรมของโครงการบางกิจกรรมให้เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานโครงการให้มากยิ่งขึ้น

     1.4 การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า  ควรทบทวนรูปแบบการจัดกิจกรรมบางกิจกรรมว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการและมีประสิทธิผลมากน้อยเพียงใดและการประเมินโครงการนี้มีความเพียงพอด้านบุคลากร  โครงการอาจมีความเสี่ยงหากโรงเรียนมีบุคลากรไม่เพียงพอ

     1.5 การประเมินด้านกระบวนการ ควรสร้างการรับรู้เกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการแผนงานแก่บุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ชัดเจนทุกขั้นตอน

     1.6 การประเมินด้านผลผลิต ควรทบทวนปรับปรุงบางกิจกรรมที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผลในการตัดสินใจของนักเรียน

     1.7 การวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ควรทบทวนปรับปรุงกิจกรรมที่มุ่งเน้นการใฝ่เรียนรู้ การมุ่งมั่นในการทำงานอันเป็นคุณลักษณะที่สำคัญจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของนักเรียนในอนาคต

     1.8 ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน  จากการประเมินโครงการนี้ทำให้มีความเชื่อมั่นว่า นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้นจริง

     1.9 การประเมินความพึงพอใจ ควรมีกระบวนการฝึกอบรมพัฒนาครูและบุคลากร  คัดเลือกครูที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านกิจกรรมเข้าร่วมโครงการ

  1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

     2.1 รายงานการประเมินโครงการนี้ทำให้ทราบว่า โครงการประสบผลสำเร็จและควรขยายโครงการให้ครอบคลุมในวงกว้างมากขึ้น

     2.2 ควรยกระดับการมีส่วนร่วมในโครงการของผู้ปกครอง เครือข่ายชุมชน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้มากขึ้น

  1. ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป

     3.1 ควรยกระดับการมีส่วนร่วมในโครงการของผู้ปกครอง เครือข่ายชุมชน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้มากขึ้นและมีการประเมินการมีส่วนร่วมในโครงการ

     3.2 มีการบูรณาการการประเมินกิจกรรมในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

     3.3 ควรเพิ่มการพัฒนาระบบสารสนเทศของโครงการให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่มา:  คลิกที่นี่